ข้อห้ามข้อบังคับบางประการจากพระราชบัญญัติฉบับนี้ที่ควรทราบ

  • สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นสัตว์ป่าที่ห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ห้ามครอบครองสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่สัตว์ที่ครอบครองเป็นสัตว์ที่มาจากการเพาะพันธุ์ที่ไม่ถูกต้อง จะต้องโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ห้ามเพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ในกรณีที่การล่าเป็นการล่าเพื่อปกป้องตนเองหรือผู้อื่นหรือทรัพย์สิน หรือเหตุอื่นที่เห็นว่าเป็นการกระทำที่ควรแก่เหตุ ไม่ต้องรับโทษ
  • การห้ามการครอบครองและห้ามค้า มีผลไปถึงไข่และซากของสัตว์เหล่านั้นด้วย
  • ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรังของสัตว์ ยกเว้นรังนกอีแอ่น (นกแอ่นกินรัง) ซึ่งต้องได้รับอนุญาตเช่นกัน

อ้างอิงhttp://www.verdantplanet.org/preserve/preserv.php

ประโยชน์และวิธีการอนุรักษ์สัตว์ป่า

ความหมายของการอนุรักษ์สัตว์ป่า มีความเกี่ยวข้องกับการรักษาไว้ให้คงอยู่ตลอดไป และการเพิ่มพูนซึ่งทรัพยากรธรรมชาติสัตว์ป่า โดยให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติด้านนี้ตลอดไปไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งจะต้องมีศาสตร์และศิลปของการนำหลักวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาใช้กับการจัดการสัตว์ป่า สัตว์ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติ อาจจะกล่าวได้ในสามลักษณะด้วยกันคือ
ประการแรก มีคุณประโยชน์ซึ่งแบ่งออกได้หลายอย่างคือ ด้านเศรษฐกิจ สังคม การพักผ่อนหย่อนใจ ชีววิทยา รักษาความงามตามธรรมชาติ
ประการที่สอง สัตว์ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติประเภทที่งอกเงยเพิ่มพูน ได้ซึ่งจะต้องมีการลงทุนรักษาไว้ ความเพิ่มพูนที่ได้รับไม่สามารถจะกล่าวออกมาในรูปของเงินตราได้ว่า มีมูลค่ามากน้อยเพียงใด
ประการที่สาม ผลประโยชน์ที่ได้จากสัตว์ป่าจะทำให้สิ่งแวดล้อมของมนุษย์คงอยู่หรือรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างอื่นไว้

อ้างอิง http://www.vcharkarn.com/varticle/38870