สัตว์ป่าสงวนตามในพระราชบัญญัติฉบับใหม่

สัตว์ป่าสงวนตามในพระราชบัญญัติฉบับใหม่ หมายถึง สัตว์ป่าที่หายากตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติฉบับนี้และตามที่กำหนดโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงชนิดสัตว์ป่าสงวนได้โดยสะดวกโดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแก้ไขหรือเพิ่มเติมเท่านั้น ไม่ต้องถึงกับต้องแก้ไขพระราชบัญญัติอย่างของเดิม ทั้งนี้ได้มีการเพิ่มเติมชนิดสัตว์ป่าที่มีสภาพล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่ง 7 ชนิด และตัดสัตว์ป่าที่ไม่อยู่ในสถานะใกล้จะสูญพันธุ์ เนื่องจากการที่สามารถเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้มาก 1 ชนิด คือ เนื้อทราย [1] ต่อมาในวันที่ 9 ตุลาคม 2558 ที่ประชุมสงวนคุ้มครองสัตว์ป่ามีมติเห็นชอบให้เพิ่มสัตว์ 4 ชนิด เป็นสัตว์สงวน รวมสัตว์ป่าสงวนมีทั้งสิ้น 19 ชนิดได้แก่

  1. นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (Pseudochelidon sirintarae)
  2. แรด (Rhinoceros sondaicus)
  3. กระซู่ (Dicerorhinus sumatrensis)
  4. กูปรีหรือโคไพร (Bos sauveli)
  5. ควายป่า (Bubalus bubalis)
  6. ละอง หรือละมั่ง (Rucervus eldi)
  7. สมัน หรือเนื้อสมัน (Rucervus schomburki)
  8. เลียงผา หรือเยือง หรือกูรำ หรือโครำ (Capricornis sumatraensis)
  9. กวางผาจีน (Naemorhedus griseus)
  10. นกแต้วแร้วท้องดำ (Pitta gurneyi)
  11. นกกระเรียนไทย (Grus antigone)
  12. แมวลายหินอ่อน (Pardofelis marmorata)
  13. สมเสร็จ (Tapirus indicus)
  14. เก้งหม้อ (Muntiacus feai)
  15. พะยูน หรือหมูน้ำ (Dugong dugon)
  16. วาฬบรูด้า (Balaenoptera edeni)
  17. วาฬโอมูระ (Balaenoptera omurai)
  18. เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea)
  19. ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus)

อ้างอิงhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%99

Leave a comment