Category Archives: สาระน่ารู้ของสัตว์ป่าสงวน

ข้อห้ามข้อบังคับบางประการจากพระราชบัญญัติฉบับนี้ที่ควรทราบ

  • สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นสัตว์ป่าที่ห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ห้ามครอบครองสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่สัตว์ที่ครอบครองเป็นสัตว์ที่มาจากการเพาะพันธุ์ที่ไม่ถูกต้อง จะต้องโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ห้ามเพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ในกรณีที่การล่าเป็นการล่าเพื่อปกป้องตนเองหรือผู้อื่นหรือทรัพย์สิน หรือเหตุอื่นที่เห็นว่าเป็นการกระทำที่ควรแก่เหตุ ไม่ต้องรับโทษ
  • การห้ามการครอบครองและห้ามค้า มีผลไปถึงไข่และซากของสัตว์เหล่านั้นด้วย
  • ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรังของสัตว์ ยกเว้นรังนกอีแอ่น (นกแอ่นกินรัง) ซึ่งต้องได้รับอนุญาตเช่นกัน

อ้างอิงhttp://www.verdantplanet.org/preserve/preserv.php

ประโยชน์และวิธีการอนุรักษ์สัตว์ป่า

ความหมายของการอนุรักษ์สัตว์ป่า มีความเกี่ยวข้องกับการรักษาไว้ให้คงอยู่ตลอดไป และการเพิ่มพูนซึ่งทรัพยากรธรรมชาติสัตว์ป่า โดยให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติด้านนี้ตลอดไปไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งจะต้องมีศาสตร์และศิลปของการนำหลักวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาใช้กับการจัดการสัตว์ป่า สัตว์ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติ อาจจะกล่าวได้ในสามลักษณะด้วยกันคือ
ประการแรก มีคุณประโยชน์ซึ่งแบ่งออกได้หลายอย่างคือ ด้านเศรษฐกิจ สังคม การพักผ่อนหย่อนใจ ชีววิทยา รักษาความงามตามธรรมชาติ
ประการที่สอง สัตว์ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติประเภทที่งอกเงยเพิ่มพูน ได้ซึ่งจะต้องมีการลงทุนรักษาไว้ ความเพิ่มพูนที่ได้รับไม่สามารถจะกล่าวออกมาในรูปของเงินตราได้ว่า มีมูลค่ามากน้อยเพียงใด
ประการที่สาม ผลประโยชน์ที่ได้จากสัตว์ป่าจะทำให้สิ่งแวดล้อมของมนุษย์คงอยู่หรือรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างอื่นไว้

อ้างอิง http://www.vcharkarn.com/varticle/38870

สัตว์ป่าสงวนตามในพระราชบัญญัติฉบับใหม่

สัตว์ป่าสงวนตามในพระราชบัญญัติฉบับใหม่ หมายถึง สัตว์ป่าที่หายากตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติฉบับนี้และตามที่กำหนดโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงชนิดสัตว์ป่าสงวนได้โดยสะดวกโดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแก้ไขหรือเพิ่มเติมเท่านั้น ไม่ต้องถึงกับต้องแก้ไขพระราชบัญญัติอย่างของเดิม ทั้งนี้ได้มีการเพิ่มเติมชนิดสัตว์ป่าที่มีสภาพล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่ง 7 ชนิด และตัดสัตว์ป่าที่ไม่อยู่ในสถานะใกล้จะสูญพันธุ์ เนื่องจากการที่สามารถเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้มาก 1 ชนิด คือ เนื้อทราย [1] ต่อมาในวันที่ 9 ตุลาคม 2558 ที่ประชุมสงวนคุ้มครองสัตว์ป่ามีมติเห็นชอบให้เพิ่มสัตว์ 4 ชนิด เป็นสัตว์สงวน รวมสัตว์ป่าสงวนมีทั้งสิ้น 19 ชนิดได้แก่ Continue reading สัตว์ป่าสงวนตามในพระราชบัญญัติฉบับใหม่

สัตว์ป่าสงวนสัตว์หายาก

สัตว์ป่าสงวนเป็นสัตว์หายาก, ใกล้จะสูญพันธุ์ หรืออาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว จึงจำเป็นต้องมีบทบัญญัติเข้มงวดกวดขัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่สัตว์ป่าที่ยังมีชีวิตอยู่หรือซากสัตว์ป่า ซึ่งอาจจะตกไปอยู่ยังต่างประเทศด้วยการซื้อขาย ต่อมาเมื่อสถานการณ์ของสัตว์ป่าในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป สัตว์ป่าหลายชนิดมีแนวโน้มถูกคุกคามเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากยิ่งขึ้น ประกอบกับเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับความร่วมมือระหว่างประเทศในการ ควบคุมดูแลการค้าหรือการลักลอบค้าสัตว์ป่าในรูปแบบต่าง ๆ ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศว่าด้วยชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าหรือ CITES ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามรับรองอนุสัญญาในปี พ.ศ. 2518 และได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2526 นับเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 จึงได้มีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติฉบับเดิมและตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ขึ้นใหม่เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535

อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%99

สัตว์ป่าสงวน

สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายาก กำหนดตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 จำนวน 9 ชนิด เป็นสัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด ได้แก่ แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมัน เนื้อทราย เลียงผา และกวางผา

อ้างอิงhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%99